googleca9db13d132b9d4f.html 0864407089

เมื่อประสบภัย จะเบิก พ.ร.บ อย่างไร

เมื่อประสบภัยจากรถ เราต้องทำอย่างไร

     พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ.รถยนต์ (ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ) ให้ความคุ้มครองแก่ผู้บาดเจ็บจากรถ ในกรณีที่รถยนต์ประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต..แต่ใครหลายคนอาจยังไม่ทราบว่าขั้นตอนการเบิกประกัน พ.ร.บ. ทำอย่างไรและต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลให้อย่างละเอียด
.
    เมื่อเกิดอุบัติเหตุต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุรถชน ผู้บาดเจ็บสามารถขอค่าเสียหายเบื้องต้นของพ.ร.บ. จากบริษัทประกัน โดยวิธีสำรองจ่ายค่ารักษาให้กับโรงพยาบาลและขอคืนได้จากบริษัทประกันภายหลัง หรือ มอบอำนาจให้โรงพยาบาลดำเนินการเบิกกับบริษัทประกันได้โดยตรง *โดยวิธีนี้ผู้บาดเจ็บต้องเตรียมเอกสาร พร้อมสำเนาอย่างละ 3 ชุด ให้กับโรงพยาบาลเพื่อทำการเบิก


เอกสารที่ต้องเตรียมยื่นให้โรงพยาบาลดำเนินการเบิก พ.ร.บ.กับบริษัทประกัน มีดังนี้

1.สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ ***ในบันทึกต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

   - ลักษณะเกิดเหตุ
      1.1 กรณีเฉี่ยวชนมีคู่กรณี รถ 2 คันขึ้นไป ชนแล้วหลบหนี ประจำวันต้องระบุ "เฉี่ยวชนแล้วหลบหนี" บันทึกประจำวันแบบรับเป็นคดี

      1.2 กรณีเฉี่ยวชนคนเดินถนน ระจำวันต้องระบุ "เฉี่ยวชนคนเดินถนนแล้วหลบหนี" บันทึกประจำวันรับเป็นคดี เพื่อประกอบการตั้งเบิกกับประกัน

      1.3 กรณีขับขี่เสียหลักล้มเอง บันทึกประจำวันเป็นหลักฐานได้

      1.4 กรณีเฉี่ยวชนทรัพย์สินทางราชการ  บันทึกประจำวันรับเป็นคดี

   - หมายเลขทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ ระบุให้ถูกต้องชัดเจน

   - ชื่อ-สกุล ผู้ขับขี่,ซ้อนท้าย ระบุให้ถูกต้องว่าอยู่รถคันไหน

   - ชื่อ-สกุล ของผู้บาดเจ็บต้องตรงกับบัตรประชาชน

   - สถานที่เกิดเหตุ วัน เวลาที่เกิดเหตุ ต้องระบุให้ชัดเจน

   - บันทึกประจำวันที่เป็นสำเนา ต้องให้พนักงานสอบสวน *รับรองสำเนาถูกต้องด้วย

2.สำเนากรมธรรม์ ของคันที่เกิดเหตุ

3.สำเนาคู่มือจดทะเบียนรถของคันที่เกิดเหตุ  (ในหน้าที่แสดงการจดทะเบียน,เสียภาษี..กรณีการเปลี่ยนทะเบียน โอนย้าย ให้ถ่ายเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย)

4.สำเนาบัตรประชาชน กรณีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้สูติบัตร พร้อมบัตรประชาชนบิดา/มารดา

5.สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้บาดเจ็บ

6.สำเนาใบขับขี่ (ถ้ามี)

7.สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ

8.กรณีผู้บาดเจ็บเป็นผู้โดยสาร ต้องใช้บัตรประชาชนหรือใบขับขี่ของคนขับ


หมายเหตุ 

   1. ผู้บาดเจ็บต้องเตรียมเอกสารทั้งหมด ภายใน 2 วัน หลังจากนอนโรงพยาบาล มิฉะนั้นจะต้องสำรองชำระเงินค่ารักษาพยาบาล แล้วนำเอกสารไปเบิกกับบริษัทประกันด้วยตนเอง

   2. หากผู้บาดเจ็บมีสิทธิเบิกได้จากสวัสดิการ ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ,บัตรทอง จะต้องใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ก่อน หากค่ารักษาเกิน 30,000 บาท จึงจะใช้สิทธิอื่นได้

เอกสารเพิ่มเติมกรณีบาดเจ็บ

  • สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย
  • ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

เอกสารเพิ่มเติมกรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล เป็นผู้ป่วยใน

  • สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของผู้ประสบภัย
  • ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน

เอกสารเพิ่มเติมกรณีทุพพลภาพ

  • สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
  • ใบรับรองแพทย์และหนังสือรับรองความพิการ
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือ หลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

เอกสารเพิ่มเติมกรณีเสียชีวิต 

  • สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ
  • ใบมรณบัตร
  • สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาท
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

 

ค่าสินไหมทดแทน

ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์

เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้บาดเจ็บจะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น และค่าสินไหมทดแทน ดังนี้

   ค่าเสียหายเบื้องต้น

  • ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) กรณีบาดเจ็บ เบิกได้สูงสุดคนละ 30,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร (พิการ) เบิกได้คนละ  35,000 บาท
  • ในกรณีที่ได้รับความเสียหายทั้ง 2 กรณี จะได้รับเงินชดเชยรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท

   ในกรณีที่ผู้บาดเจ็บได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูก จะสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล (ตามจริง) สูงสุดคนละ 80,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสินเชิง คนละ 500,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย คนละ 500,000 บาท
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน ได้รับเงินชดเชย คนละ 250,000 บาท
  • กรณีสูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย คนละ 200,000 บาท
  • ทุพพลภาพถาวร (ไม่สามารถประกอบอาชีพประจำได้) ได้รับเงินชดเชย คนละ 300,000 บาท
  • กรณีนอนพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชย วันละ 200 บาท (ไม่เกิน 20 วัน)

 

      ความคุ้มครองของประกัน พ.ร.บ. ก็สามารถบรรเทาความทุกข์ร้อนในยามเมื่อเกิดเหตุได้ ไม่ว่าจะเป็นเงินชดเชยต่างๆ เช่น ค่าเสียหายเบื้องต้น ค่ารักษาพยาบาล ค่าปลงศพ เป็นต้น อย่างไรก็ตามอย่าให้ พ.ร.บ. ขาดอย่างเด็ดขาด เพราะไม่สามารถต่อทะเบียนรถได้และจะโดนค่าปรับเพิ่มอีกทั้งไม่มีความคุ้มครองในส่วนบุคคลในที่สุด

สนใจประกันภัยรถยนต์และพรบ

ขอข้อมูลเพิ่มเติม

 

Visitors: 150,400